TOP NEWS

งานเสริมระหว่างเรียน รายได้เสริมระหว่างเรียน รายได้พิเศษระหว่างเรียน.

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สิทธิประโยชน์ กรณีคลอดบุตร กับสำนักงานประกันสังคม (ตอนที่ 2 )


สิทธิประโยชน์ กรณีคลอดบุตร กับสำนักงานประกันสังคม (ตอนที่ 2 ) เช็คสิทธิก่อนเบิกนะค่ะ อะไรเบิกได้อะไรเบิกไม่ได้ ผู้ประกันตนที่ได้ส่งเงินสมทบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามสิทธิ โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หากมีข้อสงสัยประการใดติดต่อสายด่วน 1506 


กรณีคลอดบุตร

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข 

เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน)  มีเงินสมทบครบ 7 เดือน
  

การตรวจสอบสิทธิ:
  1. ตรวจสอบว่าผู้ประกันตนเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการที่ได้รับการลดส่วนกรณีคลอดบุตรหรือไม่  ถ้าใช่ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ
  2. ตรวจสอบประวัติการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรของผู้ประกันตน  ถ้าเคยใช้สิทธิครบ 2 ครั้งแล้วให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ
ตรวจสอบวันที่คลอดบุตร
  1. คลอดบุตรก่อนวัน ที่ 1 มกราคม 2550 ใช้สิทธิตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548
  2. คลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ใช้สิทธิตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีคลอดบุตร ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  3. ผู้ประกันตนจ่าย เงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ คำว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดไม่นับสิทธิการนับย้อนหลังไป 15 เดือน ( 1 ปี 3 เดือน ) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน ตัวอย่างเช่น ประกันตนหญิงรายหนึ่งใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรคนแรกไปเมื่อปี 2547 หลังจากนั้นออกจากงานและได้กลับเข้ามาทำงานอีกครั้งเดือนธันวาคม 2550 ตั้งครรภ์มา 5 เดือน และมาคลอดเมื่อเดือนมีนาคม 2551 นับย้อนไป 15 เดือนจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผู้ประกันตนรายนี้มีเงินสมทบเพียง 3 เดือน จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรคนที่ 2

การวินิจฉัย:

คลอดบุตรก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550
  1. ตรวจสอบสถานที่คลอดบุตร ถ้าเป็นสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯหรือเครือข่าย ของสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯของผู้ประกันตนหรือของคู่สมรสหรือของสามี หรือไม่ถ้าใช่ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ
  2. ถ้าไม่ใช่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯหรือเครือข่ายให้วินิจฉัย จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 6,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

 คลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เวลา 00.00 น.

  1. คลอดบุตรที่ใดก็ได้ ให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย กรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 12,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
  2. กรณีผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีคลอดบุตรในสถานพยาบาลตามบัตร รับรองสิทธิฯก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550 แต่มีการคลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. เป็นต้นไป สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯยังต้องรับผิดชอบจนสิ้นสุด การรักษาผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และผู้ประกันตนสามารถนำสูติบัตรมาขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้ ให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตน ในอัตรา 12,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
  3. สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
    หมายเหตุ : กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก

คลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป

            ตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2553 โดยประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
  1. คลอดบุตรที่ใดก็ได้ ให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
  2. กรณีผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีคลอดบุตรในสถานพยาบาลตามบัตร รับรองสิทธิฯก่อนวันที่ 1 มกราคม 2554 แต่มีการคลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. เป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ประกันตนเจ็บป่วยในช่วงที่มีการตั้งครรภ์ ให้ผู้ประกันตนเข้าทำการรักษา ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่ารักษาพยาบาล ส่วนการเบิกค่าคลอดบุตรให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณี คลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
  3. สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
หมายเหตุ : กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกัน ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก

การเบิกสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรที่เริ่มจ่ายตั้งแต่ปี 2535-2554

  1. เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 1 มกราคม 2554 - ปัจจุบัน)
  2. เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 12,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 1 มกราคม 2550)
  3. เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 6,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 13 เมษายน 2547)
  4. เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 4,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 30 มีนาคม 2538)
  5. เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 3,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 3 กันยายน 2535)

การตรวจสอบเอกสาร

ตรวจสอบแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วนพร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

ตรวจสอบสำเนาสูติบัตรบุตรคนที่จะใช้สิทธิ

  1. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ให้ตรวจสอบชื่อมารดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้องตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันตนหรือไม่
  2. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ให้ตรวจสอบชื่อบิดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้อง ตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันหรือไม่ และตรวจสอบชื่อมารดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้องตรงกับชื่อ-ชื่อสกุลของคู่ สมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ประกันตนตามทะเบียนสมรสหรือหนังสือ รับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสหรือไม่
  3. ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันเนื่องจากสูติบัตรพิมพ์ผิดให้ผู้ประกันตนนำสูติบัตรกลับไปให้หน่วยงานที่ออกสูติบัตรแก้ไข ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันเนื่องจากมีการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล ให้ขอสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบหย่า

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน   

ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นหรือให้ผู้อื่นมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่  พร้อมหลักฐานหรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน
  1. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
  2. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา 

พิจารณาสั่งจ่าย

  1. เงินสด / เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
  2. ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน
  3. โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน

       -  ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ
       -  สำเนาสูติบัตรของบุตรพร้อมตัวจริง (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
       -  สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิถ้าไม่มีไม่ใช้ กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิหากไม่มีสำเนาทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของ ผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส)
       -  สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
       -  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 9 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB  ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB  ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  IBAK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)
    หมายเหตุ :  หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
 ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

1 ความคิดเห็น: